การขอ อย ง่ายกว่าที่คิด

วิธีการขอ อ.ย. สำหรับอาหาร

อาหาร ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึง วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้อาหารยังรวมถึงวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสด้วย โดยปัจจุบันนี้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้รวมตัวกันเป็นชมรมหรือสหกรณ์ นำวัตถุดิบที่ได้จากการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายเป็นการช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เช่น เครื่องดื่มทำจากผลไม้ท้องถิ่น เครื่องดื่มจากสมุนไพร กะปิ น้ำปลา ขนมหวาน อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพหรือมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ผู้ผลิตอาจต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป

เราสามารถป้องกันโรงงานหรือสถานที่ผลิตหรือแปรรูปอาหารให้ปลอดจากแมลงได้ ม่านริ้วพีวีซี ม่านกันแมลง หรือ เครื่องดักแมลง เป็นหนึ่งทางเลือกที่ดีโรงงานผลิตอาหารมักจะถูกรบกวนจากสัตว์ เช่น แมลงวัน ยุงหรือแมลงเม่า เป็นต้น แมลงเหล่านี้สามารถนำพาแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นอันตรายซึ่งสามารถปนเปื้อนผลิตภัณฑ์อาหารและก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ เราสามารถใช้ ม่านริ้วพีวีซีกันแมลง ม่านกันแมลง เครื่องดักแมลง เพื่อสร้างสิ่งกีดขวางระหว่างพื้นที่ต่างๆ ของโรงงาน เช่น ภายในโรงงานแปรรูปอาหาร รวมถึงพื้นที่การผลิต พื้นที่จัดเก็บ และโซนควบคุมอุณหภูมิ และสามารถใช้ เครื่องล่อดักจับแมลงและม่านริ้วพีวีซี ม่านกันแมลงควบคู่กันก็ได้

กลุ่มอาหารที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย.
อาหารกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ไม่แปรรูปหรือถ้าแปรรูปก็จะใช้กระบวนการผลิตง่าย ๆ ในชุมชน ผู้บริโภคจะต้องนำมาปรุงหรือผ่านความร้อนก่อนบริโภค อาหารกลุ่มนี้ผู้ผลิตที่มีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่าย โรงงาน ( ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือคนงานน้อยกว่า 7 คน ) สามารถผลิตจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมาขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และ ยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แต่ต้องแสดงฉลากอาหารที่ถูกต้องไว้ด้วย

กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย.
อาหารกลุ่มนี้เป็นอาหารที่มีการแปรรูปเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูปหรือ อาหารสำเร็จรูปแล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระดับต่ำ ปานกลางหรือ สูง แล้วแต่กรณี ได้แก่ อาหารที่ต้องมีฉลาก อาหารกำหนดคุณภาพหรือ มาตรฐาน หรืออาหารควบคุมเฉพาะ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารและขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือ จดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียดของอาหารแต่ละชนิดแล้วแต่กรณี ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และ ยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 

 

 เอกสารสำคัญที่ต้องจัดเตรียมเพื่อขอจัดตั้งโรงงาน / สถานที่ผลิต

1. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ

2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ

3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )

4. สำเนา ภพ.20 ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )

5. สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือ บริษัท ( กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ )

6. แผนที่ตั้งของร้าน หรือ บริษัท

7. แผนผังภายในร้าน หรือ บริษัท ระบุ สถานที่ผลิต,บรรจุ,เก็บสินค้า ให้ชัดเจน

8. สินค้าตัวอย่างพร้อมฉลาก

 อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตอาหาร

1. ใช้คนงานตั้งแต่ 7-19 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 3,000 บาท

2. ใช้คนงานตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 5,000 บาท

3. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5-91 แรงม้า 6,000 บาท

4. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 10-24 แรงม้า 7,000 บาท

5. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 25-49 แรงม้า 8,000 บาท

6. ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 50 แรงม้า ขึ้นไป 10,000 บาท

   สำหรับกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น (ฟรี)

  หลักฐานสำคัญเพื่อใช้ขอรับเลขสารบนอาหาร (อย.)

1. ใบจดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียด (แบบ สบ.5) จำนวน 2 ฉบับ

2. สำเนาการได้รับอนุญาตตั้งสถานที่ผลิต

3. ใบรับรองสถานที่ผลิตอาหารที่เทียบเท่าเกณฑ์ Primary GMP

 
 สรุป 4 ขั้นตอนการขอเครื่องหมาย อย.
1. จัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหารให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี  (GMP: GOOD MANUFACTURING PRACTICE)
2. จัดเตรียมเอกสาร โดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารทุกแห่ง
3. ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตอาหาร พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจสถานที่
4. ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.) ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ,อาหาร ที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก
 
สถานที่ยื่นคำขออนุญาต ในกรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ  ( One stop service center ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้น ๆ นี่คือเรื่องพื้นฐานในทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ และ ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สันทัดในการเดินเอกสารก็มีหลายบริษัทที่เข้าทำหน้าที่รับดำเนินการแทนแต่เราก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางที่ดีเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยากทำเองก็จะช่วยลดต้นทุนได้ดีกว่าสำคัญคือสินค้าเรามีคุณภาพสถานที่ผลิตได้มาตรฐานทุกอย่างก็ผ่านอนุมัติง่ายและเร็ว
 
สำหรับลูกค้าที่กำลังมองหาม่านกันแมลงมาใช้งาน ที่ บริษัท พี บี เอส โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด เราคือผู้นำด้านสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ ประตูอุตสาหกรรม, ประตูอัตโนมัติความเร็วสูง, High speed door, Overhead Door, Dock Shelter, Dock Leveler, พัดลมอุตสาหกรรม, Big Fan, ม่านอากาศ, Air curtain, เครื่องเป่าลมมือ, ม่านพลาสติกกันแมลง, PVC Strip Curtain, เครื่องดักแมลง, ยางขอบประตูห้องเย็น, ตาข่าย, กรงนก และตะแกรงสแตนเลส ที่พร้อมจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ม่านกันแมลงและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ เพื่อการช่วยสร้างความประทับใจและความไว้วางใจให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
 
หากคุณกำลังมองหาวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้ยาวนานเพื่อปกป้องโรงงานผลิตอาหารจากแมลงรบกวนลองพิจารณา ม่านริ้วพีวีซีกันแมลง และ เครื่องล่อดักแมลง หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม www.pbsproduct.co.th
 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสั่งซื้อสินค้า
Tel : 02-096-6544
Line : @pbsproduct
Email : admin@pbsproduct.com, pbsproduct@gmail.com

Icon Tel Icon Line Icon Mail

ปรึกษาเราเลยวันนี้