พลาสติก
Tags: พลาสติก
![]() |
![]() |
NYLON(POLYAMIDE) ชื่อทางการค้า ซุปเปอร์ลีน มีความแข็ง 70-80 Shore D อุณหภูมิใช้งานอยู่ที่ +30/+85 องศาเซียสไนลอนมีหลายเกรดขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน เช่น ไนลอน66 (CAST NYLON) จะมีคุณสมบัติรับแรงโหลด แรงบิดได้ดีกว่าไนลอน(POLYAMIDE), DIMOIL(NYLON + Oil) มีคุณสมบัติเพิ่มความลื่น ทนการสึกหรอได้ดีกว่า NYLON และ CAST NYLON เหมาะสมกับการใช้งานประเภท รับแรงโหลด แรงกระแทก มักใช้ทำเฟื่องเกียร์ แทนโลหะมีคุณสมบัติ ลื่น ช่วยลดสารหล่อลื่น ทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมี สารประกอบไฮโดรคาร์บอน และน้ำมัน ควรหลีกเลี่ยงงาที่สัมผัสน้ำ ความชื่น เพราะทำให้เกิดการหดและยืดตัว ไม่ทนทานต่อกรดแก่
PE (POLYETHELENE) มีค่าความแข็ง 62-65 Shore D อณหภูมิใช้งานอยู่ -200/+95 องศาเซลเซียส PEมีหลายเกรด ได้แก่ PE 300 (HDPE:HIGH-DENSITY POLYETYLENE), PE 500 (HMW-PE:HIGH MOLECULAR LOW PRESSURE POLYETHYLENE), PE-1000 (UHMW-PE :ULTRA HIGH MOLECULAR POLYETHYLENE) ผิวมีลักษณะลื่น คุณสมบัติที่เด่นนั้นคือ มีความหนาแน่นของโมเลกุลสูงจึงส่งผลให้มีความทนทานต่อการสึกหรอสูงไม่บวมน้ำ เหมาะสมในการใช้งานที่ต้องทนทานต่อแรงกระแทกและเสียดสี นอกจากนี้แล้วยังคงทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีด้วย โดยพื้นฐานเป็นสารไม่มีพิษ ไม่ละลายเจือปนกับน้ำหรืออาหาร จึงใช้ในงานที่ต้องสัมผัสกับอาหารได้
POM (POLYACETALS) มีค่าความแข็ง 80 Shore D อณหภูมิใช้งาน +40/+100 องศาเซลเซียส มีค่าTENSILE STRENGHT และ STIFFNESS ที่สูงมาก มีค่าความแข็ง ลื่น มีสปริง ทนต่อการเสียดสี และยืดหยุ่นได้ดีในอุณหภูมิที่สูงและต่ำ ซึ่งเป็นจุดเด่นของการคงสภาพรูปที่ดี ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำไปใช้ทดแทนโลหะ
PP (POLYPROPYLENE) มีค่าความแข็ง 70 Shore D อุณหภูมิใช้งานอยู่ +5/+100 องศาเซลเซียส เหมาะสมไนการใช้งานประเภท ที่ทนทานต่อการขีดข่วนคงตัวไม่เสียรูปง่าย เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีมาก แม้ที่อุณหภูมิสูง ทนต่อสารเคมี สามารถเชื่อมได้
PU (POLYURETHANE) เป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างหลากหลาย ด้วยคุณสมบัติความทนทาน ยืดหยุ่น และทนการสั่นสะเทือน และสามารถรองรับน้ำหนักมากได้ นอกจากนี้ยังมีระดับอุณหภูมีการใช้งานที่กว้าง คือตั้งแต่ -40°C ถึง 120°C คุณสมบัติทางกายภาพของโพลียูรีเทน ทนการกัดกร่อนได้ดีเยี่ยม, ทนการกระทบกระแทก, สามารถเกาะติดโลหะและพลาสติกได้, กันน้ำความแข็ง (Shore A): 40 ถึง 90 และมีคุณสมบัติทางเคมีคร้ายกับไนตริล(NBR) กล่าวคือ สามารถทนต่อน้ำมันปีโตรเลียม เชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนและไฮดรอลิกได้ดี การนำไปใช้งาน เดลือบลูกกลิ้ง ล้อรถเข็น บูท
ข้อจำกัด: ในที่อุณหภูมิสูง มีลเลเบิลโพลียูรีเทนจะอ่อนตัวและคลายความแข็งแรงทางกายภาพรวมทั้งความต้านทานทางเคมีได้มากกว่าพลาสติกวนิดอื่นๆ นอกจากจะมีการเติมส่วนผสมพิเศษเข้าไป นอกจากนี้โพลียูริเทนยังมีแนวโน้มที่จะเสื่อมประสิทธิภาพลงอย่างรวดเร็วเมื่อต้องใช้งานกับกรดเข้มข้น เช่น คีโตน เอสเตอร์ คลอริเนตไฮโดรคาร์บอนไนโตรคาร์บอน และน้ำร้อน
ตารางเปรียบเทียบความเหมาะสมในการใช้งานของผลิตภันฑ์
รายการเปรียบเทียบคุณสมบัติ | Nylon 6 | Cast Nylon | UHMW-PE | POM | PP |
---|---|---|---|---|---|
คุณสมบัติ | |||||
ความลื่นค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน | 2 | 3 | 5 | 2 | 4 |
การทนทานต่อแรงกระแทก | 3 | 4 | 5 | 1 | 4 |
การทนทานต่อการเสียดสี | 2 | 3 | 5 | 2 | 4 |
การทนต่อเคมี ประเภทกรด | 2 | 3 | 5 | 4 | 5 |
การทนต่อเคมี ประเภทด่าง | 3 | 4 | 5 | 3 | 5 |
ความแข็ง | 4 | 5 | 3 | 4 | 3 |
ความเหนียว | 3 | 4 | 4 | 3 | 5 |
การทนต่อการขีดข่วน | 2 | 2 | 5 | 2 | 4 |
การสปริงตัว | 3 | 3 | 2 | 5 | 2 |
การดูดซึมน้ำ | 3 | 3 | 5 | 4 | 5 |
อุณหภูมิการใช้งาน | 4 | 4 | 3 | 4 | 4 |
อุณหภูมิใช้งาน | -40/+120 | -40/+120 | -200/+95 | 105 | +20/+100 |
รายการเปรียบเทียบคุณสมบัติ | Nylon 6 | Cast Nylon | UHMW-PE | POM | PP | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ความเหมาะสมในการใช้งาน | |||||||
แผ่นกันชนท่าเรือ | 1 | 4 | 5 | 1 | 4 | ||
ตัวปรับโซ | 2 | 3 | 5 | 1 | 4 | ||
บูช | 3 | 5 | 5 | 1 | 5 | ||
แบริง | 3 | 4 | 3 | 1 | 3 | ||
เขียงรับใบมีด | 1 | 2 | 5 | 1 | 5 | ||
เกียร์ | 5 | 5 | 2 | 4 | - | ||
ซีล | 1 | 1 | 4 | 1 | - | ||
งานบุผนังระบบลำเลียง | 1 | 2 | 5 | 1 | - | ||
ซัพพอร์ตโรลเล่อร์ | 1 | 2 | 5 | 1 | 5 | ||
สตาร์วีล | 2 | 5 | 4 | 5 | 4 | ||
สปร็อคเก็ต | 4 | 5 | 4 | 4 | 4 | ||
แคม | 4 | 5 | 2 | 4 | 2 | ||
หมายเหตุ 1 = ไม่เหมาะสม/ไม่ดี 2 = พอใช้ 3 = ดี 4 = ดีมาก 5 = ดีเยี่ยม |