ยาง

                

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการผลิตยางสังเคราะห์เพื่อให้ได้อยางที่มีคุณสมบัติตามต้องการในการใช้งานที่สภาวะต่างๆ เช่น ที่สภาวะทนต่อน้ำมัน ทนความร้อง ทนความเย็นทนต่อสารเคมี สัมผัสอาหาร เป็นต้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโรงงานหลากหลาย ได้แก่ ไปผลิตเป็นฉนวนของสายเคเบิล, ยางสายพาน, ยางของประตูรถยนต์, ประเก็น, ซีล, พื้นรองเท้า, จุกนม ฯลฯ
ประเภทของยางความเหมาะสมของการนำไปใช้
1. ยางธรรมชาติ (Natural Rubber Sheet)  งานที่ต้องการความเหนียว ความทนทานแต่ไม่สัมผัสน้ำมันทน ต่อของ เหลวที่มีขั้ว เช่น อะซิโตน หรือแอลกอฮอล์ ทนกรด ด่างเจือจางได้ดี ไม่ทนต่อน้ำมันปิโตรเลียมหรือตัวทำลายมีขั้ว 
2. ยาง NBR (Nitrile Rubber Sheet)  งานที่สัมผัสน้ำมัน ทนทานต่อความร้อนและต้านทานต่อการขัดถูได้ดี ทนต่อน้ำมัน น้ำมันสัตว์ น้ำมันเชื้อเพลิง แต่ไม่ทนต่อกรดแก่และของ เหลวที่มีขั้ว เช่น คีโตน เอสเทอร์ เบนซิน โทลูอีน 
3. ยาง CR (Neoprene Rubber Sheet) งานที่ทนทานต่อการติดไฟ น้ำมัน สภาพอากาศและโอโซนทนต่อการ บวม พองในน้ำมันได้ดีกว่าNBRและทนต่อกรดด่างได้ดีกว่างยางธรรมชาติไม่ทนต่อน้ำมันเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอน
4. ยาง EPDM (Ethylene Propylenediene Rubber Sheet)  งานที่ทนความร้อน ความเย็นได้สูง ทนทานต่อสารเคมีสภาพกรด ด่าง และทนต่อตัวทำละลายที่มีชั้วได้ดีเช่นแอลกอฮอล์ น้ำมันพืช และน้ำมันไฮโรลิด
5. ยาง SC (Silicone Rubber Sheet)  ใช้งานประเภท Food Grade ทนความเย็นและความร้อนได้ดีใช้ใน อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม 
6. ยาง VITON (Fluorine Rubber Sheet)  งานที่ต้องการความทนทานต่อความร้อน โอโซนสารเคมีและเปลวไฟ ทนต่อการบวมพองในน้ำมันร้อน น้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันเชื้อเพลิง 
7. ยางสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร (Food Grade Rubber Sheet)    ยางผลิตจากวัสดุที่ไม่ก่อสารพิษและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
Visitors: 131,410